Digital Rights – Coconet https://coconet.social A Platform for Digital Rights Movement Building in the Asia-Pacific Wed, 11 Aug 2021 03:38:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.8.1 https://coconet.social/wp-content/uploads/2019/07/favicon-150x150.png Digital Rights – Coconet https://coconet.social 32 32 “สิทธิดิจิทัล” คืออะไร? https://coconet.social/2020/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%a5-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3/ https://coconet.social/2020/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%a5-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3/#comments Thu, 01 Oct 2020 05:24:30 +0000 https://coconet.social/2020/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%a5-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3/ “สิทธิดิจิทัล” คืออะไร? คำว่า “สิทธิมนุษยชน” มีนิยามที่ชัดเจนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) และถูกนำไปประยุกต์ใช้จริงกับกฎหมายจำนวนมาก ขณะที่คำว่า “ดิจิทัล” “เทคโนโลยี” หรือ “อินเทอร์เน็ต” ยังคงเป็นที่ถกเถียง ถูกตีความอย่างกว้างขวางและหลากหลายกว่า

The post “สิทธิดิจิทัล” คืออะไร? appeared first on Coconet.

]]>
Coconet II Camp Digital Rights
At Coconet II, 120 film-makers, researchers, human rights advocates, technologists, lawyers, academics, and journalists across the region working on issues such as disinformation, fake news, digital security among others.

เมื่อมีคนถามว่า “อะไรคือสิทธิดิจิทัล?” บ่อยครั้งคำตอบที่ง่ายที่สุดก็คือ “สิทธิมนุษยชนในโลกดิจิทัล” หรือ “สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นผ่านเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต

คำว่า “สิทธิมนุษยชน” มีนิยามที่ชัดเจนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) และถูกนำไปประยุกต์ใช้จริงกับกฎหมายจำนวนมาก ขณะที่คำว่า “ดิจิทัล” “เทคโนโลยี” หรือ “อินเทอร์เน็ต” ยังคงเป็นที่ถกเถียง ถูกตีความอย่างกว้างขวางและหลากหลายกว่า

หนังสือ” มักจะใช้ปนกับคำว่า“ออนไลน์” หรือ“ อินเทอร์เน็ต” ทั้งที่จริงๆ ดิจิทัลไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเสมอไป ข้อมูลไบโอเมทริกอย่างการจดจำใบหน้าหรือลายนิ้วมือเป็นหนึ่งในตัวอย่างว่าดิจิทัลไม่ใช่แค่เรื่องที่อยู่บนโลกออนไลน์เท่านั้น

ส่วนคำว่า “เทคโนโลยี” หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “เทค” (tech) ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมามักหมายถึงเทคโนโลยีดิจิทัลโดยเฉพาะ ซึ่งดูจะเป็นการมองข้ามคุณค่าและความสำคัญของเทคโนโลยีอนาล็อกไป หากคุณลองพิมพ์ค้นหาคำว่า “เทค” ดู ก็จะพบว่าผล การค้นหาเป็นเรื่องดิจิทัลเป็นส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกัน การถาโถมเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาก็เริ่มทำให้ใครหลายคนเริ่มโหยหาอดีต เห็นได้จากเทรนด์การกลับมาของสิ่งของตกยุคอย่างแผ่นเสียงและหรือหนังสือกระดาษที่ถูกมองว่าทรงคุณค่า

สำรวจนิยาม ความท้าทาย และสมมติฐาน

ในระหว่างค่ายสิทธิดิจิทัลที่มีชื่อว่า “Coconet II” เมื่อเดือนตุลาคมปี 2562 เราได้ให้ผู้เข้าร่วมทั้ง 120 คนช่วยกันนิยามสิทธิดิจิทัลในบริบทของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แน่นอนว่าคำตอบที่ได้นั้นหลากหลายมาก ดังต่อไปนี้

  • สิทธิดิจิทัลคือการใช้สิทธิมนุษยชนสากลในพื้นที่ดิจิทัล
  • สิทธิดิจิทัลคือสิทธิในการแสดงออกในพื้นที่ดิจิทัลที่เน้นเรื่องความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว มั่นคง และยั่งยืน
  • สิทธิดิจิทัลคือสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งส่งเสริมการเปิดกว้าง การเข้าถึงสาธารณูปโภคและข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน สิทธิดิจิทัลรับประกันการควบคุม อำนาจเหนือตนเอง ตัวแทนของมนุษย์ และป้องกันการทำให้มนุษยชาติถูกนำมาแปลงเป็นเงินตราหรือถูกผูกขาด
  • สิทธิดิจิทัลคือสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในสภาพแวดล้อมแบบดิจิทัล มักเกี่ยวข้องกับทั้งเสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการแสดงออก การรวมกลุ่ม การรวมตัว การเข้าถึงอุปกรณ์อินเทอร์เน็ต สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลและแพลตฟอร์ม (เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอื่นๆ) ไปจนถึงการเข้าถึงพื้นที่ปลอดภัยบนสังคมออนไลน์ ความมั่นคง ความปลอดภัย และความเท่าเทียม
  • สิทธิดิจิทัลคือส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนที่รับรองว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ถูกจัดการแบบเปิดกว้าง รับผิดชอบ และโปร่งใส เพื่อรับประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยไม่คำนึงถึงเพศ รสนิยมทางเพศ อายุ เชื้อชาติ และอื่นๆ
  • สิทธิดิจิทัลคือสิทธิมนุษยชนแบบออนไลน์ซึ่งเอื้อให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลและเสรีภาพในการแสดงออกในพื้นที่ปลอดภัย เคารพความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย
  • สิทธิดิจิทัลคือสิทธิมนุษยชนที่มีตามธรรมชาติ ทั้งสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) และผู้ที่ไม่ได้ใช้ รวมไปถึงการรับรองการเข้าถึงสิทธิที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงข้อมูล เทคโนโลยี และองค์ความรู้ ปราศจากความรุนแรง การสอดแนม และการเลือกปฏิบัติ ตลอดจนเคารพความเป็นส่วนตัว อำนาจเหนือตนเอง และการตัดสินใจด้วยตนเอง
  • สิทธิดิจิทัลคือสิทธิมนุษยชนออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึง การมีส่วนร่วม ความปลอดภัยของข้อมูล และความเป็นส่วนตัว ด้วยค่านิยมที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางทั้งเรื่องศักดิ์ศรี ความเคารพ ความเท่าเทียม ความยุติธรรม ความรับผิดชอบ ความยินยอม และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
  • สิทธิดิจิทัลให้ความสำคัญกับมนุษย์มากกว่าบริษัทเอกชน และควรกระตุ้นการมีส่วนร่วมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม

หลากหลายคำตอบจาก Coconet II เหล่านี้ตอกย้ำใจความสำคัญที่เราอ้างไว้ตั้งแต่ต้นว่าสิทธิดิจิทัลคือสิทธิมนุษยชนในโลกดิจิทัล อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยี มีความหลากหลายอย่างมากเมื่อเทียบกับการตีความสิทธิมนุษยชน โดยดิจิทัลถูกตีความร่วมกับโลกออนไลน์และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่บ่อยครั้ง

ศัพท์อีกสองคำที่มักถูกใช้ปะปนกันคือ “จริง” และ “เสมือนจริง” ซึ่งมีนัยยะว่าการปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพนั้น “จริง” กว่าการปฏิสัมพันธ์แบบ “เสมือนจริง” บนโลกดิจิทัล แต่ถ้าใช้สมมติฐานนี้ แสดงว่าการปฏิสัมพันธ์ดิจิทัลทุกอย่างไม่เป็นเรื่องจริงหรือไม่? นัยยะสำคัญของสมมติฐานนี้คืออะไร? มันจะหมายความว่าการคุกคามออนไลน์ไม่ถือเป็นการคุกคามจริงๆ ได้หรือเปล่า? แล้วถ้าเป็นแบบนั้น การปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพถือว่าเป็นจริงทั้งหมดทุกกรณีหรือไม่? โลกออนไลน์และออฟไลน์มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนเสมอหรือว่ามันเกี่ยวโยงและมีอิทธิพลต่อกัน?

ยิ่งไปกว่านั้น ยังต้องคำถามอื่นๆ อีกมากมายที่ฟังดูอาจเหมือนง่ายแต่ไม่ง่ายรอให้เราตอบอีกมากมาย มาถึงตรงนี้คุณอาจระบุคำตรงข้ามทางดิจิทัลได้บ้างแล้ว เช่น ออนไลน์-ออฟไลน์ ดิจิทัล-อนาล็อก จริง-เสมือนจริง เป็นต้น แต่ผู้เขียนมองว่าโลกดิจิทัลมีความหลากหลายมากกว่าการตีความแบบขั้วตรงข้ามที่มีแค่สองด้าน

คำนิยามและสมมติฐานเหล่านี้เปิดกว้างต่อการอภิปรายถกเถียง บทความนี้ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อให้คำตอบที่สมบูรณ์ แต่เพื่อท้าทายความคิดของเรา และเพื่อพิจารณาความยุ่งเหยิงซับซ้อนในการตีความด้านสิทธิดิจิทัล ผู้เขียนตระหนักเป็นอย่างดีว่าการให้คำนิยามเรื่องนี้มีความหลากหลายแตกต่างกันออกไปอย่างมาก

Defend Digital Rights

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการต่อสู้ด้านสิทธิดิจิทัลของผู้นำการเปลี่ยนแปลงในเอเชีย-แปซิฟิกได้ที่ Coconet.social/Camps

ระบุขอบเขตและสร้างกรอบคิด

แน่นอนว่ามีความพยายามมากมายทั้งในระดับโลก ภูมิภาค และท้องถิ่นในการแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของสิทธิดิจิทัล ยกตัวอย่างเช่น กฎบัตรสิทธิทางอินเทอร์เน็ตของ APC (APC Internet Rights Charter) และกฎบัตรสิทธิมนุษยชนและหลักการอินเทอร์เน็ต (Charter of Human Rights and Principles for the Internet) โดยภาคีพลวัตสิทธิและหลักการอินเทอร์เน็ต ณ การประชุมธรรมาภิบาลอินเทอร์เน็ตของสหประชาชาติ the UN Internet Governance Forum (IGF) กฎบัตรทั้งสองได้วางโครงสร้างว่ามาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนจะถูกนำมาตีความและประยุกต์ใช้กับโลกออนไลน์อย่างไรบ้าง

ขณะที่ปฏิญญาแอฟริกาว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพอินเทอร์เน็ต (The African Declaration on Internet Rights and Freedoms) เป็นข้อตกลงระดับภูมิภาคที่อธิบายหลักการที่จำเป็นในการปกป้องเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต ตลอดจนการสร้างสภาพแวดล้อมออนไลน์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจของทวีปแอฟริกาโดยเฉพาะ ส่วนภาคประชาสังคมในฟิลิปปินส์ก็เคยประกาศปฏิญญาฟิลิปปินส์ว่าด้วยเสรีภาพและหลักการอินเทอร์เน็ต (the Philippine Declaration on Internet Rights and Principles) เมื่อปี 2558 ซึ่งเป็นการระดมกำลังเพื่อสะท้อนความฝันและความหวังถึงอินเทอร์เน็ตที่พวกเขาอยากเห็น

การศึกษาขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อปี 2015 พบว่ามีปฏิญญาและเอกสารแนวทางที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตมากกว่า 50 ฉบับด้วยกัน และในปีเดียวกันนั้น ศูนย์เบิร์กแมนไคลน์เพื่อการวิจัยอินเทอร์เน็ตและสังคม (Berkman Klein Center for Internet and Society Research) ได้วิเคราะห์เอกสารลักษณะนี้รวม 30 ฉบับด้วยกัน โดยพบว่ามีสิทธิที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้อยู่ 42 ประการด้วยกัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่มหลัก ได้แก่ เสรีภาพในการแสดงออก สิทธิความเป็นส่วนตัว และสิทธิการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นสามกลุ่มที่ถูกพูดถึงมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล ความโปร่งใส การเปิดกว้างของระบบธรรมาภิบาลและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ข้อเสนอ: สิทธิดิจิทัลสี่ขอบเขต

Jun-E Tanผู้เข้าร่วม Coconet II จากประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีประสบการณ์วิจัยด้านสิทธิดิจิทัลในอาเซียน ระบุว่าการศึกษาและงานวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิดิจิทัลมักจะเลือกหยิบสิทธิแค่ 2-3 ประการที่เป็นประโยชน์มาศึกษา เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และงานรณรงค์ของพวกเขาเท่านั้น โดยเธอระบุว่าถ้าปราศจากขอบเขตกรอบคิดเรื่องสิทธิดิจิทัลแล้ว เราอาจจะหลงลืมหรือมองข้ามสิทธิประการอื่นๆ ที่ก็อาจมีความสำคัญไม่แพ้กันไปได้

ในงานวิจัยเกี่ยวกับสิทธิดิจิทัลในอาเซียนเมื่อปี 2019 Jun-E เสนอให้มีการขยายกรอบคิดเรื่องสิทธิดิจิทัลเป็น 4 ขอบเขตด้วยกัน คือ

  1. การมองว่าดิจิทัลเป็นพื้นที่ๆ หนึ่ง ดังนั้น สิทธิดิจิทัลก็คือสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ดิจิทัล
  2. การมองว่าดิจิทัลเป็นข้อมูลตัวแทนของตัวตนทางกายภาพ ดังนั้น สิทธิดิจิทัลจึงพุ่งเป้าไปที่ความปลอดภัยทางข้อมูลและความเป็นส่วนตัว
  3. การเข้าถึงพื้นที่ดิจิทัลและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย
  4. การมีส่วนร่วมในระบบธรรมาภิบาลดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต
ตารางจากวิจัยของ Jun-E ที่ชื่อว่า "Exploring the Nexus Between Technologies and Human Rights: Opportunities and Challenges in Southeast Asia"

แน่นอนว่าข้อเสนอของ Jun-E ไม่อาจสรุปเป็นกรอบความคิดที่ครอบคลุมทุกประเด็นได้ เพราะต้องคำนึงว่ากรอบคิดของเธอสร้างมาจากการศึกษาวิจัยจากประเทศมาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์เท่านั้น (คุณสามารถอ่านงานวิจัยของเธอเพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความซับซ้อนและความท้าทายในการสร้างกรอบคิดเรื่องสิทธิดิจิทัลในบริบทอาเซียนได้)

อย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวมาแล้วหลายครั้งข้างต้นว่ามีความพยายามที่จะระบุนิยามและสร้างกรอบคิดเรื่องสิทธิดิจิทัลที่หลากหลายในแต่ละมุมโลก ซึ่งรวมถึงบริบทของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกด้วย เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแลกเปลี่ยนและร่วมแบ่งปันความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม Coconet จะช่วยกันสร้างกลยุทธ์และขบวนการขับเคลื่อนประเด็นเรื่องสิทธิดิจิทัล ตลอดจนยังได้ทบทวนความคิดเกี่ยวกับขอบเขตของสิทธิดิจิทัลได้มากขึ้นในอนาคต ซึ่งถ้าคุณมีข้อเสนอหรือไอเดียใดที่น่าสนใจ สามารถบอกเราได้เลย

เกี่ยวกับผู้เขียน

Kathleen Azali ปัจจุบันทำงานในตำแหน่ง Digital Rights Program Manager ที่องค์กร EngageMedia เธอเป็นนักวิจัยสายนักกิจกรรมที่ทำงานในประเด็นเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การออกแบบ และเศรษฐศาสตร์การเมือง

The post “สิทธิดิจิทัล” คืออะไร? appeared first on Coconet.

]]>
https://coconet.social/2020/%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%98%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%a5-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3/feed/ 1
บทความที่เกี่ยวกับ AI ที่มีผลต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แปลเป็นภาษาไทยแล้ว https://coconet.social/2020/%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a-ai-%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88/ https://coconet.social/2020/%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a-ai-%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88/#respond Tue, 18 Aug 2020 09:04:39 +0000 https://coconet.social/?p=2803 ด้วยประโยชน์ของการแปลงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเช่นนี้ย่อมช่วยเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่สนใจในภูมิภาคของเรา ซึ่งมีความหลากหลายทั้งทางภาษาและวัฒนธรรม จึงได้เลือกแปลบทความทั้งสามชิ้นของ Jun-E Tan ที่เกี่ยวกับสถานการณ์ของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภาษาไทย โดยธีรดา ณ จัตุรัส ผู้ที่ยินดีอาสาสมัครมาช่วยแปลบทความในซีรี่ย์ที่เกี่ยวกับ AI ซึ่งปัจจุบันธีรดาทำงานเป็นที่ปรึกษาทางด้านการวางแผนนโยบายทางด้านการศึกษาของ UNESCO Paris หลังจากจบการศึกษาทางด้านการสื่อสารดิจิทัล ด้วยปริญญาปรัชญา (MPhil in Digital Communications) จากมหาวิทยาลัย University of Westminster ในลอนดอน

The post บทความที่เกี่ยวกับ AI ที่มีผลต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แปลเป็นภาษาไทยแล้ว appeared first on Coconet.

]]>

Read this article in English

บ่อยครั้งการแปลภาษาอังกฤษจากแหล่งความรู้ต่างๆ มักไม่ง่ายนักและไม่สามารถแปลได้แบบตรงๆ โดยเฉพาะเมื่อศัพท์เทคนิคเหล่านั้นเกี่ยวกับทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ความหมายของศัพท์นั้นๆ จึงแปลแบบตรงตัวตามที่ปรากฏในภาษาอื่นๆ ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ได้ปรากฏว่ามีความต้องการงานแปลงานทางเทคนิคเช่นนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่สนใจในภูมิภาคของเราซึ่งมีความหลากหลายทั้งภาษาและวัฒนธรรม

จากที่ได้มีการแปลบทความ “วิธีรักษาความปลอดภัยในโลกออนไลน์ 101” ในหลายๆ ภาษา รวมทั้งการแปลเป็นภาษาจีนมาแล้วในอดีต ซึ่งจริงๆแล้วการแปลบทความนี้เป็นผลงานของมูลนิธิ Open Culture Foundation (OCF) ในประเทศไต้หวันซึ่งเป็นส่วนหนี่งของชุมชน Coconet ของเรา

หลังจากนั้นเราได้เลือกแปลบทความทั้งสามชิ้นที่เกี่ยวกับสถานการณ์ของ AI ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เขียนโดย Jun-E Tan และแปลเป็นภาษาไทย โดย ธีรดา ณ จัตุรัส ผู้ที่ยินดีอาสาสมัครมาช่วยแปลบทความในซีรี่ย์ที่เกี่ยวกับ AI ซึ่งปัจจุบันธีรดาทำงานเป็นที่ปรึกษาทางด้านการวางแผนนโยบายทางด้านการศึกษาของ UNESCO Paris หลังจากจบการศึกษาทางด้านการสื่อสารดิจิทัล ด้วยปริญญาปรัชญา (MPhil in Digital Communications) จากมหาวิทยาลัย University of Westminster ในลอนดอน

ข้อความด้านล่างนี้เป็นความเห็นจากธีรดา เกี่ยวกับประสบการณ์ในการแปลจากไทยเป็นอังกฤษของบทความ AI ชุดนี้

“จากประสบการณ์ในการทำวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองในการสื่อสาร ทำให้ได้เห็นถึงความคล้ายคลึงหลายประการที่ปรากฏในบทความ AI และในงานวิทยานิพนธ์ของตนเอง ด้วยเหตุนี้ตนเองจึงมีความคุ้นเคยกับคำศัพท์เทคนิคเหล่านี้อยู่แล้วจึงทำให้แปลบทความได้เร็วขึ้น แถมยังช่วยให้ตนเองได้เรียนรู้ศัพท์เทคนิคใหม่ๆอีกด้วย ทั้งนี้บทความ AI ชุดนี้ยังได้สะท้อนถึงผลการวิจัยของงานวิทยานิพนธ์ของตนเองในหลายๆ ด้านที่เกี่ยวกับการเพิ่มการควบคุมอินเตอร์เน็ตที่มาจากความร่วมมือของรัฐเผด็จการและบริษัททางเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งตนเห็นว่ามีความจำเป็นในการให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ผ่านทางหลักสูตรของโรงเรียน สถาบันการศึกษา และการสร้างทางเลือกอื่นๆ ในการสื่อสารที่ไม่ใช่แค่จากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกระแสหลัก เพื่อการรักษาความเป็นนิรนามในการปกปิดอัตลักษณ์ของคนใช้อินเตอร์เน็ตเอง พร้อมทั้งยังช่วยปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เอง”

“ซึ่งการที่ได้อาสาแปลบทความครั้งนี้ช่วยให้ตนเองได้ทำความเข้าใจประเด็นใหม่ๆเกี่ยวกับ AI ที่มีผลต่อการพัฒนาทางสังคม และยังทำให้ตนเองได้รับรู้เกี่ยวกับการพัฒนาใหม่ๆที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ AI ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิทางพลเมือง สิทธิทางการเมือง และสิทธิทางสังคมและวัฒนธรรมต่างๆของผู้คน โดยเฉพาะผู้ที่เห็นต่างจากรัฐ ผู้หญิง และเยาวชน นั่นทำให้ได้ไอเดียใหม่ๆที่ช่วยพัฒนาทั้งทางวิชาการและการทำงานของตนเองในอนาคต”

ธีรดา ยังได้อธิบายเพิ่มเติมถึงความจำเป็นในการเพิ่มแหล่งความรู้ที่เกี่ยวกับ AI และ Machine Learning ในภาษาอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากภาษาอังกฤษเพื่อการเผยแพร่ความรู้ในภูมิภาคนี้ “ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่คิดต่างทางการเมือง ผู้ลี้ภัย บุคคลที่มีความต้องการช่วยเหลืออย่างเป็นพิเศษ เด็กผู้หญิง ผู้หญิง และชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่ขาดความชำนาญทางภาษาอังกฤษควรที่จะได้เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับความสำคัญในการรักษาความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ และสิทธิทางดิจิทัล (digital rights) ในภาษาของตน ซึ่งการรู้สิทธิต่างๆ เหล่านี้ก็จะช่วยให้พวกเราสามารถลุกขึ้นปกป้องสิทธิของตนเองจากการละเมิดสิทธิโดยรัฐ และบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลาย”

ขอบคุณธีรดาที่อาสาช่วยแปลงานเป็นภาษาไทย และสำหรับผู้ที่สนใจเป็นอาสาสมัครแปลบทความเป็นภาษาต่างๆ สามารถติดต่อทีมงานเรา เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้

The post บทความที่เกี่ยวกับ AI ที่มีผลต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แปลเป็นภาษาไทยแล้ว appeared first on Coconet.

]]>
https://coconet.social/2020/%e0%b8%9a%e0%b8%97%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%81%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%a7%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a-ai-%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88/feed/ 0